วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2554

การเจาะเลือดจากเส้นเลือดฝอย (Capillary Puncture)

ข้อบ่งชี้
เพื่อเก็บตัวอย่างเลือด ที่ต้องการปริมาณเพียงเล็กน้อย

ข้อควรระวัง / ข้อห้าม
หลีกเลี่ยงการเจาะจากบริเวณผิวหนังที่มีการติดเชื้อ ถ้าเลือกเจาะที่ส้นเท้าให้เจาะบริเวณด้านข้างของส้นเท้า เนื่องจากการเจาะตรงกลางส้นเท้าอาจลึกถึงกระดูกได้ และในผู้ป่วยที่มีปัญหาการแข็งตัวของเลือด ให้ทำการเจาะด้วยความระมัดระวัง กดบริเวณที่เจาะให้นานพอ และตรวจสอบให้แน่ใจว่าเลือดหยุดไหลเลือดและสารคัดหลั่งจากร่างกาย ให้ถือว่าเป็นสิ่งที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรค ควรระมัดระวัง
ไม่ให้ถูกต้องกับผิวหนังหรือเสื้อผ้า

อุปกรณ์
1. อุปกรณ์ห่อตัว
2. อุปกรณ์ฆ่าเชื้อ แอลกอฮอล์ 70% หรือ povidone-iodine สำลี
3. ถุงมือ
4. capillary tube
5. lancet หรือเข็มธรรมดา ขนาด 23 – 21 gauge
6. ดินน้ำมัน
7. พลาสเตอร์

การเตรียมผู้ป่วยและญาติก่อนการทำหัตถการ
1. อธิบายความจำเป็นและวิธีทำแก่ผู้ป่วยและญาติ สำหรับเด็กใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายโดยคำนึงถึงการพัฒนาทางภาษาของเด็ก (ยกเว้นผู้ป่วยเด็กทารก หรือเด็กที่ยังไม่สามารถใช้ภาษาสื่อสาร)
2. เตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างให้พร้อมก่อนที่จะเข้าปฏิบัติต่อเด็กรูป 20 แสดงวิธีการเช็ดทำความสะอาดผิวหนัง
3. อนุญาตให้ญาติที่ได้รับการเตรียม อยู่กับผู้ป่วยขณะที่ทำหัตถการ

วิธีทำ
1. ล้างมือให้สะอาด เช็ดให้แห้ง แนะนำให้สวมถุงมือ
2. การปฏิบัติทุกขั้นตอนให้คำนึงถึงวิธีปราศจากเชื้อ
3. เลือกตำแหน่งตำแหน่งที่สามารถเจาะเส้นเลือดฝอยได้ ได้แก่ ปลายนิ้วมือ ใบหู ส้นเท้า นิ้วเท้า
ตำแหน่งที่ดีที่สุดคือ ปลายนิ้วมือ สำหรับส้นเท้าสามารถเลือกเจาะได้ในทารกแรกเกิดบริเวณปลายนิ้วมือ นิยมเจาะที่ปลายนิ้วกลาง นิ้วนาง หรือนิ้วชี้ ทางด้านข้าง ในทารกเจาะที่ส้นเท้า ทางด้านข้าง โดยเฉพาะด้านนอก ห้ามเจาะตรงกลางส้นเท้า และอาจเจาะที่นิ้วหัวแม่เท้าได้
4. ถ้ามือเท้าเย็น ให้อุ่นก่อนด้วยผ้าชุบน้ำอุ่น
5. ในกรณีที่เป็นเด็กเล็ก ให้ผู้ช่วยจับหรือทำการห่อตัวเด็กให้อยู่นิ่ง
6. นวดนิ้วจากฝ่ามือไปที่ปลายนิ้วเพื่อเพิ่มการไหลของเลือด โดยไม่ใช้แรงมากเกินไปเนื่องจากทำให้ผลการตรวจคลาดเคลื่อนได้
7. เช็ดผิวหนังด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเป็นวงกว้าง 2 - 3 เซนติเมตร รอให้แห้ง
8. ใช้ lancet เจาะผ่านผิวหนังในแนวตั้งฉาก ด้วยความเร็วโดยการกระตุกข้อมือ ถ้าใช้เข็มฉีดยาควรเจาะลึกประมาณ 2 มิลลิเมตร
9. เช็ดเลือดหยดแรกออกด้วยสำลีแห้งเนื่องจากเลือดหยดแรกอาจมี tissue fluid ผสมอยู่ หลังจากนั้นเก็บตัวอย่างเลือดโดยใช้ capillary tube ให้ปลายแตะอยู่ที่หยดเลือดบีบนิ้วหรือเท้าเบาๆ เพื่อให้เลือดไหลเร็วขึ้น โดยไม่บีบเค้นแรง
10. กดด้วยสำลีแห้งไว้สักครู่
11. เก็บอุปกรณ์ ทิ้งของมีคมและวัสดุปนเปื้อนในภาชนะที่เหมาะสม
12. ล้างมือ

ภาวะแทรกซ้อน
การติดเชื้อ

รูป 1 แสดงการเจาะเลือดจากเส้นเลือดฝอย


รูป 2 แสดงตำแหน่งบริเวณส้นเท้าสำหรับการเจาะเลือดจากเส้นเลือดฝอย


รูป 3 แสดงตำแหน่งบริเวณนิ้วมือสำหรับการเจาะเลือดจากเส้นเลือดฝอย



Edit from http://www.thaipedlung.org/
and Current Procedures : Pediatrics

การเจาะเลือดจากเส้นเลือดแดง (Arterial Puncture)

ข้อบ่งชี้
เพื่อเก็บตัวอย่างเลือด ส่วนใหญ่ใช้ในกรณีที่ต้องการวัดค่าก๊าซในเลือด

ข้อควรระวัง / ข้อห้าม
การเจาะเส้นเลือดแดงซ้ำๆ ทำให้เกิดการบาดเจ็บของเส้นเลือด เป็นผลให้เกิดthrombosis ติดเชื้อ หรือ arterio-venous fistula ได้ ถ้าจำเป็นต้องเจาะตรวจบ่อยควรใส่ arterial catheter ไว้ และในกรณีที่มีปัญหาเลือดออกง่าย การเจาะควรทำอย่างระมัดระวังในกรณีที่ต้องการวัดค่าก๊าซในเลือดแดง ต้องเคลือบ heparin ในกระบอกฉีดยา และระวังไม่ให้มี heparin มากเกินไปเพราะจะทำให้ค่า pCO2 ลดลงเส้นเลือดแดงที่นิยมใช้มากที่สุดคือ radial artery รองลงมาคือ brachial artery และfemoral arteryเลือดและสารคัดหลั่งจากร่างกาย ให้ถือว่าเป็นสิ่งที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรค ควรระมัดระวังไม่ให้ถูกต้องกับผิวหนังหรือเสื้อผ้า

อุปกรณ์
1. อุปกรณ์ห่อตัว
2. อุปกรณ์ฆ่าเชื้อ แอลกอฮอล์ 70% หรือ povidone-iodine สำลี
3. ถุงมือ
4. เข็มฉีดยา ใช้ขนาด 23-guage ยกเว้นเด็กทารกแรกเกิดใช้ขนาด 25-guage อาจใช้เข็มแบบธรรมดา หรือเข็มแบบ butterfly
5. กระบอกฉีดยา ขนาด 1 มิลลิลิตร เคลือบด้วย heparin
วีธีเตรียม : ดูด heparin ความเข้มข้น 1 ยูนิต/มิลลิลิตร จำนวนเล็กน้อย เคลือบให้ทั่วภายในกระบอกฉีดยา ฉีด heparin ที่เหลือทิ้ง)
6. พลาสเตอร์ตัดเตรียมไว้

การเตรียมผู้ป่วยและญาติก่อนการทำหัตถการ
1. อธิบายความจำเป็นและวิธีทำแก่ผู้ป่วยและญาติ สำหรับเด็กให้ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายโดยคำนึงถึงการพัฒนาทางภาษาของเด็ก (ยกเว้นผู้ป่วยเด็กทารก หรือเด็กที่ยังไม่สามารถใช้ภาษาสื่อสาร)
2. เตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างให้พร้อมก่อนที่จะเข้าปฏิบัติต่อเด็ก

วิธีทำ
1. ล้างมือให้สะอาด เช็ดให้แห้ง แนะนำให้สวมถุงมือ
2. การปฏิบัติทุกขั้นตอนให้คำนึงถึงวิธีปราศจากเชื้อ
3. ทำ allen test โดยให้ผู้ป่วยกำมือให้แน่น ผู้ตรวจกดที่เส้นเลือด ulnar และ radial ให้แน่น ให้ผู้ป่วยกางนิ้วออก ผู้ตรวจปล่อยนิ้วที่กดเส้นเลือด ulnar สังเกตดูสีที่มือที่ซีดจะแดงขึ้น เนื่องจากมีเลือดจาก ulnar เข้าไปเลี้ยงที่มือได้เพียงพอ ถ้าภายใน 5 วินาทีมือยังคงซีดแสดงว่า palmar arch collateral circulation ไม่เพียงพอ ไม่ควรเจาะเส้นเลือดแดง radial จากข้างนั้น ควรเลือกเจาะเส้นเลือดแดงที่อื่นแทน
4. ในกรณีที่เป็นเด็กเล็ก ให้ผู้ช่วยจับหรือทำการห่อตัวเด็กให้อยู่นิ่ง
5. จัดให้ข้อมือหงายขึ้น ใช้ผ้าหนุนใต้ข้อมือ ให้ข้อมือทำมุม 30-45 องศา
6. ทำความสะอาดผิวหนังด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ รอให้แห้ง
7. ฉีด 1% lidocaine จำนวนเล็กน้อย โดยใช้เข็มขนาด 27-guage
8. คลำชีพจร radial เหนือต่อตำแหน่งที่จะแทง ปกติจะคลำได้ชัดที่สุดที่ด้านหน้าบริเวณข้อมือ ทางด้านนอกต่อ flexor carpi rad
9. แทงด้วยเข็ม butterfly ที่ต่อกระบอกฉีดยาที่เตรียมไว้ ทำมุมกับผิวหนัง 30-45 องศาค่อยๆ ขยับเข็มออกเข้าจนได้เลือดย้อนเข้าสาย แล้วจึงใช้กระบอกฉีดยาดูดเบาๆ
10. ดึงเข็มออก แล้วกดบริเวณที่แทงนาน 5 นาที
11. เก็บอุปกรณ์ ทิ้งของมีคมและวัสดุปนเปื้อนในภาชนะที่เหมาะสม
12. ล้างมือ

ภาวะแทรกซ้อน
1. เส้นเลือดถูกทำลายแบบถาวร ซึ่งสามารถป้องกันโดยการทำอย่างถูกวิธี
2. ภาวะแทรกซ้อนอื่นที่ไม่รุนแรง ได้แก่ arterial spasm เจ็บบริเวณที่แทงเนื่องจากแทงถูกเส้นประสาทหรือกระดูก ก้อนเลือดใต้ผิวหนัง การติดเชื้อ


รูป 1 แสดงแนวเส้นเลือดแดงที่แขน


รูป 2 แสดงการเจาะเลือดจาก radial artery








Edit from http://www.thaipedlung.org/
ang Current Procedures : Pediatrics

วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554

การเจาะเลือดจากเส้นเลือดดำ (Venipuncture)

ข้อบ่งชี้
เพื่อเก็บตัวอย่างเลือด จากเส้นเลือดดำ

ข้อควรระวัง / ข้อห้าม
การเจาะเลือดจากเส้นเลือดดำควรเลี่ยงผิวหนังบริเวณที่มีการติดเชื้อ มีบาดแผลหรือมีการฉีกขาดของเส้นเลือดส่วนต้น (proximal vein injury) นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้เส้นเลือดบริเวณขา และการแทงเส้นเลือดที่คอในทารกเล็กๆ ที่มีปัญหาหายใจลำบากหรือมีปัญหาในกะโหลกศีรษะเลือดและสารคัดหลั่งจากร่างกาย ให้ถือว่าเป็นสิ่งที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรค ควรระมัดระวังไม่ให้ถูกต้องกับผิวหนังหรือเสื้อผ้า

อุปกรณ์
1. อุปกรณ์ห่อตัว
2. อุปกรณ์ฆ่าเชื้อ แอลกอฮอล์ 70% หรือ povidone-iodine สำลี
3. ถุงมือ
4. กระบอกฉีดยา ขนาด 5, 10 หรือ 20 มิลลิลิตร ขึ้นกับปริมาณเลือดที่ต้องการ
5. เข็มฉีดยา เลือกใช้ขนาดที่เหมาะสมกับขนาดตัวผู้ป่วย และเส้นเลือด ตั้งแต่ 25 – 18gauge ทั่วไปใช้ขนาด 23 – 21 gauge ความยาว 0.5 – 1.5 นิ้ว อาจใช้เข็มชนิดbutterfly ในกรณีที่ต้องการเจาะเลือดจำนวนมาก
6. สายรัดแขน
7. ขวดใส่เลือดที่มีจำนวน และชนิดถูกต้อง เช่นใส่สารกันเลือดแข็งตัว

การเตรียมผู้ป่วยและญาติก่อนการทำหัตถการ
1. อธิบายความจำเป็นและวิธีทำแก่ผู้ป่วยและญาติ สำหรับเด็กให้ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายโดยคำนึงถึงการพัฒนาทางภาษาของเด็ก (ยกเว้นผู้ป่วยเด็กทารก หรือเด็กที่ยังไม่สามารถใช้ภาษาสื่อสาร)
2. เตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างให้พร้อมก่อนที่จะเข้าปฏิบัติต่อเด็ก
3. อนุญาตให้ญาติที่ได้รับการเตรียม อยู่กับผู้ป่วยขณะที่ทำหัตถการ

วิธีทำ
1. ล้างมือให้สะอาด เช็ดให้แห้ง แนะนำให้สวมถุงมือ
2. การปฏิบัติทุกขั้นตอนให้คำนึงถึงวิธีปราศจากเชื้อ
3. เลือกตำแหน่ง ขึ้นกับอายุและความเร่งด่วน ตำแหน่งที่ใช้ได้ คือ ข้อพับแขน มือ เท้าexternal jugular ควรเลือกที่ข้อพับแขน คือเส้นเลือด cephalic, basilic ก่อนเนื่องจากเส้นเลือดเห็นได้ชัด และมีเส้นประสาทน้อย ส่วน external jugular veinควรเลือกเป็นอันดับสุดท้าย
4. ในกรณีที่เป็นเด็กเล็ก ให้ผู้ช่วยจับหรือทำการห่อตัวเด็กให้อยู่นิ่ง
5. ใช้สายรัดเหนือต่อตำแหน่งที่จะแทงเส้น ให้แน่นพอที่จะกั้นการไหลของเลือดดำ แต่ไม่กั้นการไหลของเลือดแดง
6. เช็ดผิวหนังด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเป็นวงกว้าง 3 – 4 เซนติเมตร รอให้แห้ง
7. ดึงผิวหนังเหนือเส้นเลือดให้ตึงขณะแทงเข็ม แทงเข็มผ่านผิวหนังโดยวางแนวเข็ม 30-60 องศา เมื่อแทงเข้าเส้นได้แล้ว สังเกตโดยมีเลือดไหลย้อน ให้หยุดหรือขยับเข็มเข้าอีกเล็กน้อยเพื่อให้เลือดไหลออกดี ใช้กระบอกฉีดยาค่อยๆ ดูดเลือดในจำนวนเท่าที่ต้องการ ถ้าเป็นเด็กเล็ก ที่ดูดเลือดได้ยาก อาจให้เลือดหยดออกมาแล้วรองด้วยหลอดเก็บตัวอย่างเลือด      แต่ห้ามใช้วิธีนี้ในกรณีการเก็บเลือดเพื่อเพาะเชื้อ
8. คลายสายรัด
9. วางสำลีแห้งไว้เหนือจุดแทงเข็ม ดึงเข็มออก แล้วจึงกดสำลี ควรดึงเข็มออกก่อนกดผิวหนัง ถ้ากดก่อนดึงเข็มจะทำให้ผู้ป่วยเจ็บ ไม่แนะนำให้ผู้ป่วยงอแขนพับขึ้นเนื่องจากทำให้เกิดก้อนเลือดใต้ผิวหนังได้ ให้ผู้ป่วยกดไว้ 2-3 นาทีจึงเอาสำลีออก ถ้ายังมีเลือดออกให้กดต่ออีก 2-3 นาที
10. ใส่เลือดเข้าหลอดเก็บเลือดทันที ตรวจสอบปริมาณเลือดให้เหมาะสม ถ้าใส่เลือดในหลอดที่มีสารป้องกันการแข็งตัว ให้พลิกหลอดคว่ำหงายเบาๆ ไม่ใช้วิธีเขย่าแรงๆ
11. เขียนและปิดฉลาก เก็บในอุณหภูมิเหมาะสม หรือส่งตรวจต่อไป
12. เก็บอุปกรณ์ ทิ้งของมีคมและวัสดุปนเปื้อนในภาชนะที่เหมาะสม
13. ล้างมือ
คำแนะนำเพิ่มเติม
- อาจใช้ blood pressure cuff แทน tourniquet โดยบีบให้ความดันอยู่ที่ 60 มิลลิเมตร
ปรอท
- การตีเบาๆ ที่จุดที่ต้องการแทงเส้น และการให้ผู้ป่วยกำมือ แบมือสลับกันเป็นจังหวะอาจช่วยให้มองเห็นเส้นเลือดง่ายขึ้น
- ผู้ป่วยที่ได้รับยากันเลือดแข็งตัว หลังเจาะเลือดเสร็จต้องกดให้นานพอ และตรวจสอบให้แน่ใจว่าเลือดหยุดไหล 

รูป 1 แสดงการเจาะเลือดจากเส้นเลือดดำ


ภาวะแทรกซ้อน
1. เส้นเลือดแตกทำให้มีก้อนเลือดใต้ผิวหนัง
2. การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อข้างเคียง ได้แก่ เส้นประสาท เอ็น
3. การติดเชื้อ


Edit from http://www.thaipedlung.org/
and Current Procedures : Pediatrics