วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

หลักทั่วไปในการให้วัคซีน

การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายมี 2 วิธี คือ
1.Passive immunization คือการให้ immunoglobulin ซึ่งสามารถออกฤทธิ์ได้ทันที
2. Active  immunization คือการให้ vaccine เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน
ประเภทของวัคซีน
1. Toxoid หมายถึง วัคซีนที่ผลิตขึ้นโดยการนำพิษของเชื้อโรคมาทำให้หมดฤทธิ์ไป แต่ยังสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ เช่น D และ T
2. Killed vaccine หมายถึง วัคซีนที่ผลิตโดยอาศัยหลักพันธุวิศวกรรมศาสตร์ (genetic engineering) โดยใช้ส่วนประกอบบางส่วนหรือทั้งตัวของเชื้อโรคที่ตายแล้วหรือโปรตีนส่วนประกอบที่ผลิตมาใหม่ก็ได้ เช่น HB, IPV และ TIV เป็นต้น
3. Live vaccine หมายถึง วัคซีนที่ผลิตขึ้นโดยใช้โดยใช้เชื้อโรคมาทำให้อ่อนฤทธิ์ลงจนไม่สามารถทำให้ก่อโรคได้ แต่เพียงพอที่จะกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ เช่น MMR, VZV,RV และ LAIV เป็นต้น

วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ภูมิคุ้มกันวิทยาและวัคซีน

ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแบ่งเป็น 2 ระบบ คือ

1. Innate immune response
2. Adaptive immune response
  • การตอบสนองมีความหลากหลาย (diversify) มีความจำเพาะ (specificity) รวมทั้งมีความจำ (memory) ได้แก่ Tcell และ B cell
  • กลไกสำคัญคือ การรับรู้แอนติเจน (antigen recognition) และ การตอบสนองด้วยการสร้างแอนติบอดี (antibody response)
  • การรับรู้แอนติเจน (antigen recognition) ซึ่งมีความจำเพาะโดย receptor ของ Tcell และ B cell ในแต่ละ clone นั้นจะสามารถจับกับ antigen ได้เพียงชนิดเดียว ความหลากหลายเกิดจากการที่ Tcell และ B cell มี gene rearragement หรือเรียกอีกอย่างว่า V(D)J recombination คือการสลับไปมาของ gene แบบสุ่ม ทำให้มี receptor ที่มีความหลากหลายและจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อผ่านกลไกการเกิด multiple mutation ซึ่งเรียกว่า somatic hypermutation


File:Heavy chain and common antibody.svg
http://en.wikipedia.org/wiki/File:Heavy_chain_and_common_antibody.svg

  • การตอบสนองด้วยการสร้างแอนติบอดี (antibody response) มี 2 กลไก คือ T cell independent response หรือ Humoral immune respose โดย B cell จะจับกับ antigen โดยตรง แล้วพัฒนาไปเป็น plasma cell ที่มีหน้าที่สร้าง antibody ที่มี affinity ต่ำ เป็น IgM เป็นส่วนใหญ่และไม่มี memory cell  อีกกลไกหนึ่งคือ   T cell dependent response หรือ Cell mediated immune response โดย Helper T cell  (Th, CD4+ cell) จะเหนี่ยวนำให้ B cell เกิด secondary immune response สร้าง antibody ที่มี affinity สูง และในปริมาณมาก เกิด isotope switching จาก IgM เป็น IgG และ IgA ได้ และ Cytotoxic T cell (Tc, CD8+ cell) จะทำหน้าที่กำจัด infected cell ได้
  •  
    File:B cell activation.png
    http://en.wikipedia.org/wiki/File:B_cell_activation.png





    http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/d/df/T-dependent_B_cell_activation.png
    

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนที่มีผลต่อภูมิคุ้มกัน คือ

1. ชนิดของวัคซีน
  • การกระตุ้นภูมิของ live vaccine ดีกว่า non live vaccine เพราะมีการเพิ่มจำนวนของเชื้อและอยู่ในร่างกายได้นาน
  • protein vaccine กระตุ้นผ่าน T cell dependent pathway ดีกว่า polysaccharide vaccine ที่กระตุ้นผ่าน T cell independent pathway ซึ่งไม่มี memory effect
2. ระยะเวลาการให้วัคซีน
  • การฉีดวัคซีนต่างชนิดกัน ห่างกันอย่างน้อย 3 สัปดาห์ จะสามารถหลีกเลี่ยงการรบกวนกันของ primary response ได้
  • ระยะระหว่าง primary และ booster dose ควรห่างอย่างน้อย 4 เดือน เพื่อจะได้มีเวลาเพียงพอสำหรับ affinity maturation ของ memory B cell และทำให้ secondary response เกิดได้ดีขึ้น
Edit from วัคซีน, http://www.khanacademy.org/
และ http://www.wikipedia.org/