วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2554

การเจาะเลือดจากเส้นเลือดแดง (Arterial Puncture)

ข้อบ่งชี้
เพื่อเก็บตัวอย่างเลือด ส่วนใหญ่ใช้ในกรณีที่ต้องการวัดค่าก๊าซในเลือด

ข้อควรระวัง / ข้อห้าม
การเจาะเส้นเลือดแดงซ้ำๆ ทำให้เกิดการบาดเจ็บของเส้นเลือด เป็นผลให้เกิดthrombosis ติดเชื้อ หรือ arterio-venous fistula ได้ ถ้าจำเป็นต้องเจาะตรวจบ่อยควรใส่ arterial catheter ไว้ และในกรณีที่มีปัญหาเลือดออกง่าย การเจาะควรทำอย่างระมัดระวังในกรณีที่ต้องการวัดค่าก๊าซในเลือดแดง ต้องเคลือบ heparin ในกระบอกฉีดยา และระวังไม่ให้มี heparin มากเกินไปเพราะจะทำให้ค่า pCO2 ลดลงเส้นเลือดแดงที่นิยมใช้มากที่สุดคือ radial artery รองลงมาคือ brachial artery และfemoral arteryเลือดและสารคัดหลั่งจากร่างกาย ให้ถือว่าเป็นสิ่งที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรค ควรระมัดระวังไม่ให้ถูกต้องกับผิวหนังหรือเสื้อผ้า

อุปกรณ์
1. อุปกรณ์ห่อตัว
2. อุปกรณ์ฆ่าเชื้อ แอลกอฮอล์ 70% หรือ povidone-iodine สำลี
3. ถุงมือ
4. เข็มฉีดยา ใช้ขนาด 23-guage ยกเว้นเด็กทารกแรกเกิดใช้ขนาด 25-guage อาจใช้เข็มแบบธรรมดา หรือเข็มแบบ butterfly
5. กระบอกฉีดยา ขนาด 1 มิลลิลิตร เคลือบด้วย heparin
วีธีเตรียม : ดูด heparin ความเข้มข้น 1 ยูนิต/มิลลิลิตร จำนวนเล็กน้อย เคลือบให้ทั่วภายในกระบอกฉีดยา ฉีด heparin ที่เหลือทิ้ง)
6. พลาสเตอร์ตัดเตรียมไว้

การเตรียมผู้ป่วยและญาติก่อนการทำหัตถการ
1. อธิบายความจำเป็นและวิธีทำแก่ผู้ป่วยและญาติ สำหรับเด็กให้ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายโดยคำนึงถึงการพัฒนาทางภาษาของเด็ก (ยกเว้นผู้ป่วยเด็กทารก หรือเด็กที่ยังไม่สามารถใช้ภาษาสื่อสาร)
2. เตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างให้พร้อมก่อนที่จะเข้าปฏิบัติต่อเด็ก

วิธีทำ
1. ล้างมือให้สะอาด เช็ดให้แห้ง แนะนำให้สวมถุงมือ
2. การปฏิบัติทุกขั้นตอนให้คำนึงถึงวิธีปราศจากเชื้อ
3. ทำ allen test โดยให้ผู้ป่วยกำมือให้แน่น ผู้ตรวจกดที่เส้นเลือด ulnar และ radial ให้แน่น ให้ผู้ป่วยกางนิ้วออก ผู้ตรวจปล่อยนิ้วที่กดเส้นเลือด ulnar สังเกตดูสีที่มือที่ซีดจะแดงขึ้น เนื่องจากมีเลือดจาก ulnar เข้าไปเลี้ยงที่มือได้เพียงพอ ถ้าภายใน 5 วินาทีมือยังคงซีดแสดงว่า palmar arch collateral circulation ไม่เพียงพอ ไม่ควรเจาะเส้นเลือดแดง radial จากข้างนั้น ควรเลือกเจาะเส้นเลือดแดงที่อื่นแทน
4. ในกรณีที่เป็นเด็กเล็ก ให้ผู้ช่วยจับหรือทำการห่อตัวเด็กให้อยู่นิ่ง
5. จัดให้ข้อมือหงายขึ้น ใช้ผ้าหนุนใต้ข้อมือ ให้ข้อมือทำมุม 30-45 องศา
6. ทำความสะอาดผิวหนังด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ รอให้แห้ง
7. ฉีด 1% lidocaine จำนวนเล็กน้อย โดยใช้เข็มขนาด 27-guage
8. คลำชีพจร radial เหนือต่อตำแหน่งที่จะแทง ปกติจะคลำได้ชัดที่สุดที่ด้านหน้าบริเวณข้อมือ ทางด้านนอกต่อ flexor carpi rad
9. แทงด้วยเข็ม butterfly ที่ต่อกระบอกฉีดยาที่เตรียมไว้ ทำมุมกับผิวหนัง 30-45 องศาค่อยๆ ขยับเข็มออกเข้าจนได้เลือดย้อนเข้าสาย แล้วจึงใช้กระบอกฉีดยาดูดเบาๆ
10. ดึงเข็มออก แล้วกดบริเวณที่แทงนาน 5 นาที
11. เก็บอุปกรณ์ ทิ้งของมีคมและวัสดุปนเปื้อนในภาชนะที่เหมาะสม
12. ล้างมือ

ภาวะแทรกซ้อน
1. เส้นเลือดถูกทำลายแบบถาวร ซึ่งสามารถป้องกันโดยการทำอย่างถูกวิธี
2. ภาวะแทรกซ้อนอื่นที่ไม่รุนแรง ได้แก่ arterial spasm เจ็บบริเวณที่แทงเนื่องจากแทงถูกเส้นประสาทหรือกระดูก ก้อนเลือดใต้ผิวหนัง การติดเชื้อ


รูป 1 แสดงแนวเส้นเลือดแดงที่แขน


รูป 2 แสดงการเจาะเลือดจาก radial artery








Edit from http://www.thaipedlung.org/
ang Current Procedures : Pediatrics

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น