วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2554

การเจาะเลือดจากเส้นเลือดฝอย (Capillary Puncture)

ข้อบ่งชี้
เพื่อเก็บตัวอย่างเลือด ที่ต้องการปริมาณเพียงเล็กน้อย

ข้อควรระวัง / ข้อห้าม
หลีกเลี่ยงการเจาะจากบริเวณผิวหนังที่มีการติดเชื้อ ถ้าเลือกเจาะที่ส้นเท้าให้เจาะบริเวณด้านข้างของส้นเท้า เนื่องจากการเจาะตรงกลางส้นเท้าอาจลึกถึงกระดูกได้ และในผู้ป่วยที่มีปัญหาการแข็งตัวของเลือด ให้ทำการเจาะด้วยความระมัดระวัง กดบริเวณที่เจาะให้นานพอ และตรวจสอบให้แน่ใจว่าเลือดหยุดไหลเลือดและสารคัดหลั่งจากร่างกาย ให้ถือว่าเป็นสิ่งที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรค ควรระมัดระวัง
ไม่ให้ถูกต้องกับผิวหนังหรือเสื้อผ้า

อุปกรณ์
1. อุปกรณ์ห่อตัว
2. อุปกรณ์ฆ่าเชื้อ แอลกอฮอล์ 70% หรือ povidone-iodine สำลี
3. ถุงมือ
4. capillary tube
5. lancet หรือเข็มธรรมดา ขนาด 23 – 21 gauge
6. ดินน้ำมัน
7. พลาสเตอร์

การเตรียมผู้ป่วยและญาติก่อนการทำหัตถการ
1. อธิบายความจำเป็นและวิธีทำแก่ผู้ป่วยและญาติ สำหรับเด็กใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายโดยคำนึงถึงการพัฒนาทางภาษาของเด็ก (ยกเว้นผู้ป่วยเด็กทารก หรือเด็กที่ยังไม่สามารถใช้ภาษาสื่อสาร)
2. เตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างให้พร้อมก่อนที่จะเข้าปฏิบัติต่อเด็กรูป 20 แสดงวิธีการเช็ดทำความสะอาดผิวหนัง
3. อนุญาตให้ญาติที่ได้รับการเตรียม อยู่กับผู้ป่วยขณะที่ทำหัตถการ

วิธีทำ
1. ล้างมือให้สะอาด เช็ดให้แห้ง แนะนำให้สวมถุงมือ
2. การปฏิบัติทุกขั้นตอนให้คำนึงถึงวิธีปราศจากเชื้อ
3. เลือกตำแหน่งตำแหน่งที่สามารถเจาะเส้นเลือดฝอยได้ ได้แก่ ปลายนิ้วมือ ใบหู ส้นเท้า นิ้วเท้า
ตำแหน่งที่ดีที่สุดคือ ปลายนิ้วมือ สำหรับส้นเท้าสามารถเลือกเจาะได้ในทารกแรกเกิดบริเวณปลายนิ้วมือ นิยมเจาะที่ปลายนิ้วกลาง นิ้วนาง หรือนิ้วชี้ ทางด้านข้าง ในทารกเจาะที่ส้นเท้า ทางด้านข้าง โดยเฉพาะด้านนอก ห้ามเจาะตรงกลางส้นเท้า และอาจเจาะที่นิ้วหัวแม่เท้าได้
4. ถ้ามือเท้าเย็น ให้อุ่นก่อนด้วยผ้าชุบน้ำอุ่น
5. ในกรณีที่เป็นเด็กเล็ก ให้ผู้ช่วยจับหรือทำการห่อตัวเด็กให้อยู่นิ่ง
6. นวดนิ้วจากฝ่ามือไปที่ปลายนิ้วเพื่อเพิ่มการไหลของเลือด โดยไม่ใช้แรงมากเกินไปเนื่องจากทำให้ผลการตรวจคลาดเคลื่อนได้
7. เช็ดผิวหนังด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเป็นวงกว้าง 2 - 3 เซนติเมตร รอให้แห้ง
8. ใช้ lancet เจาะผ่านผิวหนังในแนวตั้งฉาก ด้วยความเร็วโดยการกระตุกข้อมือ ถ้าใช้เข็มฉีดยาควรเจาะลึกประมาณ 2 มิลลิเมตร
9. เช็ดเลือดหยดแรกออกด้วยสำลีแห้งเนื่องจากเลือดหยดแรกอาจมี tissue fluid ผสมอยู่ หลังจากนั้นเก็บตัวอย่างเลือดโดยใช้ capillary tube ให้ปลายแตะอยู่ที่หยดเลือดบีบนิ้วหรือเท้าเบาๆ เพื่อให้เลือดไหลเร็วขึ้น โดยไม่บีบเค้นแรง
10. กดด้วยสำลีแห้งไว้สักครู่
11. เก็บอุปกรณ์ ทิ้งของมีคมและวัสดุปนเปื้อนในภาชนะที่เหมาะสม
12. ล้างมือ

ภาวะแทรกซ้อน
การติดเชื้อ

รูป 1 แสดงการเจาะเลือดจากเส้นเลือดฝอย


รูป 2 แสดงตำแหน่งบริเวณส้นเท้าสำหรับการเจาะเลือดจากเส้นเลือดฝอย


รูป 3 แสดงตำแหน่งบริเวณนิ้วมือสำหรับการเจาะเลือดจากเส้นเลือดฝอย



Edit from http://www.thaipedlung.org/
and Current Procedures : Pediatrics

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น