วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2554

การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscular Injection)

ข้อบ่งชี้
เพื่อฉีดยาหรือสารเข้าภายในกล้ามเนื้อ
ข้อควรระวัง / ข้อห้าม
ข้อห้ามได้แก่ แพ้ยาหรือสารที่ฉีด ผู้ป่วยมีปัญหาเลือดออกง่าย
อุปกรณ์
1. อุปกรณ์ฆ่าเชื้อ แอลกอฮอล์ 70% หรือ povidone-iodine สำลี
2. กระบอกฉีดยา ขนาดขึ้นกับปริมาณยาที่จะฉีด
3. เข็มดูดยา ขนาด 20 – 18 guage
4. เข็มฉีดยา เลือกขนาดและความยาวให้เล็กที่สุดที่เหมาะกับปริมาณ และความหนืดของยา โดยทั่วไปใช้ขนาด 25 - 22 guage ยาว 1 นิ้ว เด็กที่อ้วนอาจเลือกใช้เข็มยาว 1.5 นิ้ว
5. ยาหรือสารที่จะฉีด
6. พลาสเตอร์
การเตรียมผู้ป่วยและญาติก่อนการทำหัตถการ
1. อธิบายความจำเป็นและวิธีทำแก่ผู้ป่วยและญาติ สำหรับเด็กให้ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายโดยคำนึงถึงการพัฒนาทางภาษาของเด็ก (ยกเว้นผู้ป่วยเด็กทารก หรือเด็กที่ยังไม่สามารถใช้ภาษาสื่อสาร)
2. ถามประวัติการแพ้ยา และภาวะเลือดออกง่าย
3. เตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างให้พร้อมก่อนที่จะเข้าปฏิบัติต่อเด็ก
4. อนุญาตให้ญาติที่ได้รับการเตรียม อยู่กับผู้ป่วยขณะที่ทำหัตถการ
ตำแหน่งฉีดยา
1. กล้ามเนื้อโคนขา vastus lateralis เป็นตำแหน่งที่ดีในทารกและเด็กเล็ก และสามารถใช้ได้กับทุกอายุ  หาตำแหน่งฉีดยา โดยแบ่งจาก greater trochanter และเข่า เป็นสามส่วน ฉีดที่ส่วนกลาง
ข้อดี - หาตำแหน่งง่าย
          - ไม่มีเส้นประสาทหรือเส้นเลือดใหญ่ๆ มีไขมันน้อยกว่าสะโพกด้านหลัง
2. กล้ามเนื้อสะโพกด้านบน ventrogluteal ใช้ได้ทุกอายุ วางมือเหนือ greater trochanter นิ้วชี้วางบน anterior superior iliac spine กางนิ้วกลางไปตาม iliac crest ฉีดไปตรงกลางช่อง
ข้อดี - หาตำแหน่งง่าย
         - ไม่มีเส้นประสาทหรือเส้นเลือดใหญ่ๆ มีไขมันน้อยกว่าสะโพกด้านหลัง
3. กล้ามเนื้อสะโพกด้านหลัง dorsogluteal ไม่ใช้ในเด็กน้อยกว่า 3 ปี มีความเสี่ยงในการบาดเจ็บต่อเส้นประสาท sciatic ลากเส้นจำลองจาก greater trochanter กับ posterior superior iliac spine ฉีดค่อนไปทางด้านข้างและเหนือต่อจุดแบ่งครึ่ง
ข้อดี     - กล้ามเนื้อหนา
ข้อเสีย - อาจฉีดถูกเส้นประสาท sciatic
             - เป็นบริเวณที่มีไขมันหนา ถ้าเด็กอ้วนมากอาจฉีดเข้าชั้นไขมัน
4. ล้ามเนื้อ deltoid เริ่มใช้ในวัยรุ่น สารที่ฉีดไม่ควรเกิน 1 มิลลิลิตร ตำแหน่ง 2 – 3 นิ้ว ต่ำกว่า acromion process ตรงจุดกลางด้านข้างของแขน ขณะฉีดให้แขนขนานกับลำตัว และกอดแขนให้แนบชิดกับลำตัว
ข้อดี     - สะดวก
ข้อเสีย - กล้ามเนื้อเล็ก มีบริเวณฉีดได้น้อย
วิธีทำ
1. ล้างมือให้สะอาด เช็ดให้แห้ง
2. การปฏิบัติทุกขั้นตอนให้คำนึงถึงวิธีปราศจากเชื้อ
3. เตรียมยาที่จะฉีด คำนวณยา ผสมยา ดูดยาเข้ากระบอกฉีดยา ไล่ฟองอากาศออกจนหมด เปลี่ยนเข็มฉีดยา
4. เลือกบริเวณที่จะฉีดยา เลี่ยงบริเวณที่ไม่มีผื่นแผล การอักเสบ
5. ในกรณีที่เป็นเด็กเล็ก ให้ผู้ช่วยจับหรือทำการห่อตัวเด็กให้อยู่นิ่ง
6. ทำความสะอาดผิวหนังด้วยยาฆ่าเชื้อ รอให้แห้ง
7. แทงเข็มให้เร็ว ตั้งฉากกับผิวหนัง
8. ดูดตรวจสอบว่าได้เลือดหรือไม่ ถ้าได้เลือดให้ดึงเข็มออก แล้วเริ่มต้นใหม่
9. ถ้าไม่มีเลือด ให้ฉีดยาช้าๆ จนหมด ดึงเข็มออกอย่างเร็ว
10. กดนวดเบาๆ บริเวณที่ฉีด
11. ล้างมือ
ภาวะแทรกซ้อน
1. การบาดเจ็บต่ออวัยวะข้างเคียงได้แก่ เส้นประสาท กล้ามเนื้อ ถ้าฉีดยาซ้ำๆ ที่ตำแหน่งเดิมอาจทำให้เกิด muscular fibrosis
2. ตุ่มฝี อาจเกิดตามหลังเนื้อเยื่อขาดเลือด มีเนื้อตาย ซึ่งเป็นผลจากการฉีดยาตื้นเกินไปเข้าในชั้นใต้ผิวหนัง หรือเกิดจากการฉีดยาจำนวนมากเข้าในกล้ามเนื้อที่มีขนาดเล็ก


รูป 1 แสดงตำแหน่งฉีดยาบริเวณต้นขา
รูป 2 แสดงภาพหน้าตัดบริเวณต้นขา


รูป 3 แสดงตำแหน่งและการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อบริเวณต้นขา




รูป 4 แสดงตำแหน่งฉีดยาบริเวณกล้ามเนื้อสะโพก



รูป 5 แสดงตำแหน่งฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ deltoid




รูป 6 แสดงมุมของการวางแนวเข็มในการฉีดชั้นต่างๆ กล้ามเนื้อ (90 องศา) ใต้ผิวหนัง (45 องศา) และในผิวหนัง (15 องศา)




รูป 7 แสดงแนวเข็มการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ





Edit from  http://www.thaipedlung.org/ 
and Current Procedures : Pediatrics


1 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณสำหรับข้อมูลคะ เข้าใจมากขึ้นเยอะเลยคะ

    ตอบลบ